คู่มือประชาชน

ยึดมั่นธรรมาภิบาล บริการเพื่อประชาชน

สิทธิประจำตัว

ทะเบียนสมรส รับรองบุตร

ทะเบียนราษฎร

แจ้งย้ายเข้าบ้าน เกิด ตาย

การชำระภาษี

หลักเกณฑ์การชำระภาษีต่างๆ

การขออนุญาตต่างๆ

ขออนุญาตก่อสร้างบ้าน อาคาร

สิทธิประจำตัว

ทะเบียนสมรส รับรองบุตร

คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส
  • จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย
    กรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง
  • ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
  • ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
  • ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
  • หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
    • คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
    • สมรสกับคู่สมรสเดิม
    • มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
    • ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
    • ชายหญิง ที่มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้สมรสได้
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส
  • บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
  • สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ
  • หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาล ประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล(กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
ขั้นตอนในการขอจดทะเบียนสมรส
  • การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
  • คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
  • คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม
  • คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด หนังสือรับรองนั้น ต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรองการแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต
ค่าธรรมเนียม
  • การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
  • การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียน 200 บาท พร้อมจัดยานพาหนะ รับ – ส่ง นายทะเบียนการจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างใกล เสียค่าธรรมเนียม 1 บาท
การจดทะเบียนหย่า
การสิ้นสุดการสมรสมี 3 วิธี คือ
  1. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย
  2. การจดทะเบียนหย่า
  3. ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส

การหย่า ปฏิบัติได้ 2 วิธี คือ

  1. การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายกระทำได้ 2 วิธี คือ การจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน
  2. การจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน

การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล

เอกสารที่ใช้เพื่อการจดทะเบียนหย่า คือ

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบสำคัญการสมรส
  • หนังสือหย่าหรือหนังสือสัญญาหย่า

การจดทะเบียนหย่า

ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนหย่า
กรณีการจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน

  • คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่า
  • คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน

กรณีการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน

  • คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่า
  • คู่หย่าตกลงกันก่อนว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ยื่นคำร้องก่อนหลัง และแต่ละฝ่ายจะยื่นคำร้อง ณ
  • สำนักทะเบียนใด
  • คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนตามที่ได้ตกลงกัน

กรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล

  • หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คู่หย่าไม่ต้องจดทะเบียนหย่าอีก และหากให้คู่สมรสหย่าขาดจากกัน โดยมีเงื่อนไขให้ไปจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียน การสมรสจึงจะสิ้นสุด
การขอร่วมใช้นามสกุล
เอกสารประกอบการดำเนินการ

ขั้นตอนที่ 1 (สำหรับเจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล)

  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล(แบบ ช.2)

ขั้นตอนที่ 2 (สำหรับผู้ขอร่วมชื่อสกุล)

  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล

ขั้นตอนการติดต่อ

เจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล ยื่นคำขอตามแบบ ช.5 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อมหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2)
นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอหลักฐานการจดทะเบียนชื่อสกุล เมื่อเห็นว่าถูกต้อง จะพิจารณา อนุญาตและออกหนังสืออนุญาต ให้ร่วมใช้ชื่อสกุล ตามแบบที่กรมการปกครองกำหนดให้แก่เจ้าของ ชื่อสกุลเพื่อมอบให้ผู้ที่จะขอร่วมใช้ชื่อสกุล

ขั้นตอนที่ 3

ผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุลยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อมหนังสือ อนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล นายทะเบียนตรวจสอบคำขอและหลักฐาน การอนุญาตเมื่อเห็นว่าถูกต้อง จะพิจารณาอนุญาตและออกหนังสือสำคัญ แสดงการอนุญาตให้แก่ผู้ขอ และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท ผู้ขอนำหนังสือสำคัญไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและหลักฐานอื่นที่ เกี่ยวข้องรวมทั้งขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน

การจดทะเบียนรับรองบุตร
การจดทะเบียนรับรองบุตร ปฏิบัติได้ 3 วิธี คือ
  1. การจดทะเบียนรับรองบุตรในสำนักทะเบียน
  2. การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียน
  3. การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

  • หนังสือแสดงความยินยอมของบุตร
  • หนังสือแสดงความยินยอมของมารดาของบุตร

ขั้นตอนในการติดต่อ

บิดายื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร ต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือ สำนักทะเบียนเขต เด็กและมารดาเด็ก ต้องให้ความยินยอมในการจดทะเบียนทั้งสองคน ถ้าเด็กหรือมารดา เด็กคนใดคนหนึ่ง ไม่ให้ความยินยอมหรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น เด็กเป็นผู้เยาว์ไร้เดียงสา มารดาเด็กถึงแก่กรรม เป็นต้น การจดทะเบียนรับรองบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล

ทะเบียนราษฎร

แจ้งย้ายเข้าบ้าน เกิด ตาย

การขอหมายเลขประจำบ้าน
เอกสาร
  1. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอ (เจ้าบ้าน)
  3. ใบอนุญาติให้ปลูกสร้างอาคาร (กองช่างออกให้)
  4. หนังสือรับรองอาคาร (กองช่างออกให้)
  5. ใบยื่นคำร้อง (ทร. 9) (ขอรับที่งานทะเบียนราษฎร)
    กรณี เจ้าบ้านไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเองได้ ให้มีหนังสือมอบอำนาจ ของเจ้าบ้าน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบ และผู้รับ
    การขอหมายเลขประจำบ้าน ระยะเวลาตั้งแต่ยื่นขอ และอนุมัติให้ ภายใน 15 วัน

การแก้ไขรายการ

ในทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ทุกรายการ
เจ้าบ้านหรือผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เจ้าตัว บิดา – มารดา สามี – ภรรยา เป็นผู้ขอแก้ไขรายการ กรณีเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดา มารดา ดำเนินการแก้ไขรายการได้ พร้อมนำเอกสารมา ดังนี้

  1. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  2. สูติบัตร (ใบเกิด) หรือ
  3. หลักฐานทางการศึกษา (ใบสุทธิ) หรือสำเนาทะเบียนนักเรียน หรือ
  4. หลักฐานทางการทหาร (ส.ด. 8 หรือ ส.ด. 9) หรือ
  5. ใบสำคัญทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญหย่า หรือ
  6. ใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล
การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก

การบริการ

  1. ผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ ต้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชนหาก ไม่ขอมีบัตรภายใน 60 วัน จะถูกปรับไม่เกิน 500 บาท
  2. ยื่นคำขอที่อำเภอ กิ่งอำเภอ เขต หรือเทศบาล ที่ตนเองมีชื่อในทะเบียนบ้าน
  3. ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด

หลักฐาน

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน
  2. แสดงหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบเกิด ใบสุทธิ เพื่อแสดงว่าเป็นบุคคล เดียวกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน
  3. กรณีเป็นบุตรบุคคลต่างด้าว ต้องมีหนังสือสำคัญประจำตัวบุคคลต่างด้าว ของบิดาและมารดาแสดงด้วย
  4. กรณีไม่มีหลักฐานตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรอง
บัตรประจำตัวประชาชนเดิมหมดอายุ

การบริการ

เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ ผู้ถือบัตรต้องขอมีบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมหากไม่ขอมีบัตรภายในกำหนด 60 วันจะถูกปรับไม่เกิน 200 บาท

หลักฐาน

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน
  2. บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ
การทำบัตรประจำตัวประชาชน(บัตรหาย)

การบริการ

แจ้งความที่อำเภอ กิ่งอำเภอ เทศบาล แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือสถานีตำรวจภูธร ให้ยื่นเรื่องขอมีบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหาย หรือถูกทำลาย หากเลยกำหนด จะเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท

หลักฐาน

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน
  2. สำเนาหลักฐานการแจ้งความบัตรหาย
  3. นำหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ไปด้วย (ถ้ามี) เช่น ใบเกิด ใบสุทธิ หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรเดิมที่สูญหาย
  4. เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
  5. หากค้นหาหลักฐานเดิมที่เคยทำบัตรเก่าไม่พบ ต้องนำเจ้าบ้านหรือผู้ที่น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ญาติพี่น้องไปรับรองด้วย
การเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล

การบริการ

หากเปลี่ยนชื่อตัวหรือนามสกุล ให้ยื่นเรื่องขอเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่แก้ไขชื่อหรือนามสกุลในทะเบียนบ้าน หากไม่ยื่นภายในกำหนดต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท

หลักฐาน

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน
  2. บัตรฯ เดิม
  3. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล
  4. เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
การแจ้งเกิด

การบริการ

  1. เมื่อมีคนเกิดในบ้านให้เจ้าบ้านหรือบิดามารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่เกิดภาย ใน 15 วัน นับแต่วันเกิด
  2. เมื่อมีคนเกิดนอกบ้านให้บิดาหรือมารดาหรือผู้ที่ ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง แห่งท้องที่ที่เกิด หรือแห่งท้องที่ที่พึงได้ใน 15 วัน นับแต่วันเกิด หรือ ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนด ให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน

หลักฐาน 

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน )
  2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดา ( ถ้ามี )
  3. หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล ( ถ้ามี )
  4. หนังสือยินยอมให้บุตรใช้ชื่อสกุลของบิดา ( กรณีไม่จดทะเบียนสมรส )

ขั้นตอนการติดต่อ 

  1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียน
  2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานกับทะเบียนบ้าน และลงรายการในสูติบัตร ทั้ง 3 ตอน แล้วเพิ่มชื่อเด็กในทะเบียนและสำเนา ทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้าน เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว จึงมอบสูติบัตร ตอนที่ 1 และสำเนาทะเบียนบ้านให้กับผู้แจ้ง
การแจ้งเกิดเกินกำหนด

การบริการ

  • เป็นการแจ้งการเกิดเมื่อเวลาผ่านพ้นไปจากที่ กฎหมายกำหนดไว้ ( 15 วัน ) ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

หลักฐาน 

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน
  2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดา ( ถ้ามี )
  3. หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล ( ถ้ามี )

ขั้นตอนการติดต่อ

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน
  2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานแล้วเปรียบเทียบคดี ความผิด และสอบสวนผู้แจ้ง บิดา มารดา ให้ทราบสาเหตุที่ไม่แจ้งการเกิดภายในเวลาที่กำหนด ในกรณีที่บิดาหรือมารดาไม่อาจมาให้ถ้อยคำในการ สอบสวนได้ ไม่ว่าจะด้วยกรณีใด นายทะเบียนจะบันทึกถึงสาเหตุดังกล่าวไว้ และนำเสนอนายอำเภออนุมัติออกสูติบัตรต่อไป
การแจ้งตาย

การบริการ

  1. เมื่อมีคนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่ง ท้องที่ที่มีคนตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย ในกรณีไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาพบศพ
  2. เมื่อมีคนตายนอกบ้านให้ผู้ที่ไปกับผู้ตายหรือ ผู้พบศพเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ ที่ตาย หรือพบศพ หรือแห่งท้องที่ที่พึงแจ้งได้ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพในกรณีนี้จะแจ้งต่อ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้

หลักฐาน 

  1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตาย มีชื่อและรายการบุคคล(ถ้ามี)
  2. หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)
  3. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง

ขั้นตอนการติดต่อ

  1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียน เพื่อตรวจสอบและลงรายการในมรณบัตร
  2. จำหน่ายชื่อผู้ตายออกจากทะเบียนบ้าน โดยจะ ประทับคำว่า “ตาย” สีแดงไว้หน้ารายการคนตาย
  3. มอบมรณบัตร ตอนที่ 1 ทะเบียนบ้านและบัตร ประชาชนคืนผู้แจ้ง
การแจ้งย้ายเข้า

การบริการ

เมื่อมีผู้ย้ายเข้าหรือย้ายออกให้เจ้าบ้านแจ้งต่อ นายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นย้ายออก โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น

หลักฐาน

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน )
  2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  3. หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน ( ถ้ามี )
  4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับ มอบหมายจากเจ้าบ้าน
  5. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ( ท.ร.6 ) ตอนที่ 1 และ 2

ขั้นตอนการติดต่อ

  1. ยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่จะย้ายเข้า
  2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อ ในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน ) โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกันและ มอบสำเนาทะเบียนบ้าน และหลักฐานคืนให้ผู้แจ้ง
การแจ้งย้ายออก

การบริการ

เมื่อมีผู้ย้ายเข้าหรือย้ายออกให้เจ้าบ้านแจ้งต่อ นายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นย้ายออก โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น

หลักฐาน

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน )
  2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  3. หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน ( ถ้ามี )
  4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับ มอบหมายจากเจ้าบ้าน
  5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่ กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง ทั้งนี้ผู้ย้าย ที่อยู่สามารถร้องขอทำหน้าที่เจ้าบ้านเพื่อ แจ้งย้ายที่อยู่ของตนเองได้

ขั้นตอนการติดต่อ

  1.  ยื่นเรื่องต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีชื่ออยู่ใน ทะเบียนบ้าน ( ถึงแม้ว่าเจ้าของบ้าน ไม่สามารถไปแจ้งย้ายออกให้ได้ผู้ที่อยู่สามารถขอ ทำหน้าที่เจ้าบ้าน เพื่อย้ายชื่อตนเองออกได้
  2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการบุคคลที่จะย้ายออกลงรายการใน ใบแจ้งการย้ายที่อยู่และจำหน่ายรายการบุคคล ที่ย้ายออกในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน ) โดยจะประทับคำว่า “ย้าย” สีน้ำเงินไว้หน้ารายการ และระบุว่าย้ายไปที่ใด
  3. นายทะเบียนมอบหลักฐานการแจ้งคืนผู้แจ้ง พร้อมทั้งใบแจ้งการย้ายที่อยู่ตอนที่ 1และ 2 เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าต่อไป
การแจ้งย้ายปลายทาง

การบริการ

ผู้ที่ย้ายที่อยู่ สามารถไปแจ้งย้ายออกและย้ายเข้า ณ สำนักทะเบียนแห่งที่อยู่ใหม่ โดยไม่ต้องเดินทางกลับไปแจ้งย้ายออกจากทะเบียน บ้านเดิมทั้งนี้ผู้ย้ายที่อยู่ควรเป็นผู้แจ้งย้ายด้วยตนเอง

หลักฐาน

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน(ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านที่จะย้ายเข้า
  2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะ ย้ายไปอยู่ใหม่ พร้อมคำยินยอมเป็นหนังสือ เจ้าบ้าน
  3. บัตรประจำตัวประชาขน

ขั้นตอนการติดต่อ

  1. ยื่นหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่จะย้ายเข้า
  2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานและลงรายการ ในใบแจ้งการย้ายที่อยู่โดยให้ผู้แจ้งลงลายมือชื่อ ในช่องผู้แจ้งย้ายออกและช่องผู้แจ้งย้ายเข้าสำหรับช่อง เจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้าให้เขียนชื่อ-สกุลตัวบรรจง และเสียค่าธรรมเนียม 5 บาท
  3. ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 15 วัน (สำนักทะเบียนที่ยังไม่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์)
  4. ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 10 นาที (สำนักทะเบียนที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์)

การชำระภาษี

หลักเกณฑ์การชำระภาษีต่างๆ

ภาษีป้าย

ภาษีป้าย 
เป็นภาษีที่จัดเก็บป้าย อันหมายถึงแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือ โฆษณาการค้า หรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพ หรื่อเครื่องหมายที่เขียนแกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นๆ

ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี

ผู้เป็นเจ้าของป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป. 1 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี
กรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่ จะต้องยื่น ภ.ป. 1 ภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ติดตั้งใหม่

การชำระเงินค่าภาษี

ผู้เป็นเจ้าของป้ายต้องชำระค่าภาษีภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน หรือจะชะระภาษีในวันที่ยื่นแบบเลยก็ได้

อัตราค่าภาษีป้าย

ป้ายประเภทที่ 1 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนให้คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่ 2 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพหรือเครื่องหมายอื่น ให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่ 3 หมายถึง ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ หรือไม่ หรือป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้ หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท

การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด

ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ยื่นแบบภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี
ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระค่าภาษีภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่ม อีกร้อยละ 2 ต่อเดือนของค่าภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องแสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการ

การขออนุญาตต่างๆ

ขออนุญาตก่อสร้างบ้าน อาคาร

การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร

การก่อสร้าง การดัดแปลง การรื้อถอน เคลื่อนย้าย และการใช้สอยอาคารภายในเขต อบต. ต้องได้รับอนุญาตจาก อบต.เสียก่อน จึงจะดำเนินการได้ ทั้งนี้เพราะ อบต.มีหน้าที่ควบคุมเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคง แข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกในการจราจร เพื่อประโยชน์ของผู้อยู่อาศัยในอาคาร

การขออนุญาตก่อสร้างอาคารดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคารในเขต อบต. มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติดังต่อไปนี้ 

ให้ยื่นคำร้องขออนุญาต (ข.1) ที่งานธุรการ กองช่าง

หลักฐานอื่นๆ ที่ต้องมายื่นประกอบแบบแปลนมีดังนี้

  • แบบแปลนก่อสร้าง 5 ชุด
  • ภาพถ่ายเอกสารสำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ขออนุญาต 1 ชุด
  • ภาพถ่ายเอกสารโฉนดที่ดิน , นส.3 ถ่ายต้นฉบับจริงทุกหน้า 1 ชุด
  • รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ

 กรณีสร้างในที่ของบุคคลอื่น มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • หนังสือยินยอมเจ้าของที่ดิน
  • ภาพถ่ายเอกสาร สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1 ชุด
  • รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ

กรณีตกลงก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคารโดยวิธีทำผนังร่วมกันกับบุคคลอื่นมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 

  • หนังสือตกลงก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคารโดยวิธีทำผนังร่วมกัน 1 ชุด
  • ภาพถ่ายเอกสาร สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินผู้ขอทำความตกลง 1 ชุด
  • ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1 ชุด
  • รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ
การขออนุญาตประกอบการ
  • ผู้ประกอบการยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน
    * รายเก่า : ก่อนใบอนุญาตหมดอายุ
    * รายใหม่ : ก่อนเปิดดำเนินการ
  • ตรวจสอบแล้วถูกต้องตามเกณฑ์ พิจารณาออกใบอนุญาตภายใน 30 วัน
  • ใบอนุญาตมีกำหนดอายุ 1 ปี
  • อัตราค่าใบอนุญาติ และค่าธรรมเนียมเป็นไปตามเทศบัญญัติ
การขออนุญาตโฆษณาด้วยเครื่องขยายเสียง

ให้ยื่นคำร้องขออนุญาติใช้เครื่องขยายเสียงตามแบบ ฆ.ษ. 1 โดยเสียค่าธรรมเนียมดังนี้

  1. เพื่อการกุศล ไม่เกิน 15 วัน ครั้งละ 10 บาท
  2. เพื่อกิจการทั่วไป (ประจำที่) ไม่เกิน 15 วัน ครั้งละ 75 บาท
  3. เพื่อกิจการทั่วไป (เคลื่อนที่) ไม่เกิน 5 วัน ครั้งละ 60 บาท
ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตราย

 

กิจการที่เข้าข่ายจะต้องชำระใบอนุญาต

  1. กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์
  2. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
  3. กิจการที่เกี่ยวกับอาหารเครื่องดื่ม น้ำดื่ม
  4. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ชำรล้าง
  5. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
  6. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะ หรือแร่
  7. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
  8. กิจการที่เกี่ยวกับไม้
  9. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
  10. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
  11. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดินทราย ซีเมนต์
  12. กิจการที่เกี่ยวกับ ปิโตรเลี่ยม ถ่านหิน สารเคมี
  13. กิจการอื่นๆ ดังนี้
    • การพิมพ์หนังสือ หรือพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
    • การผลิต การซ่อมเรื่องอิเลคโทรนิคส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า
    • การผลิต เทียน เทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
    • การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือการถ่ายเอกสาร
    • การสะสมวัตถุ หรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้ว หรือเหลือใช้
    • การประกอบกิจการโกดังสินค้า
    • การล้างขวด ภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว
    • การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช้สิ่งทอ
    • การก่อสร้าง

เอกสารประกอบการขอใบอนุญาต

  1. ให้ยื่นคำร้องขอใบอนุญาต เมื่อเริ่มประกอบกิจการพร้อมเอกสารดังนี้
    • สำเนาบัตรประชาน
    • สำเนาทะเบียนบ้านขอผู้ขออนุญาต
    • ใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
    • ใบอนุญาตทำการค้าจากสำนักทะเบียนการค้า
    • ใบอนุญาตหรือใบแจ้งประกอบกิจการโรงงาน
  2. ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของเทศบาลตำบลสีมามงคล การต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กจ.3 ก่อนใบอนุญาตหมดอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่อายุใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตหมดอายุ จะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างค่าชำระ

รวมภาพกิจกรรม

ภาพกิจกรรม/โครงการ ต่างๆขององค์การบริหารส่วนตำบลวังจั่น