โครงการฝึกอบรมคุณธรรม จริยธรรม การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล เเละป้องกันการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 องค์การบริหารส่วนตำบลวังจั่น ได้จัดทำโครงการฝึกอบรมคุณธรรม จริยธรรม การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล เเละป้องกันการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 นำโดย นายอภิศักดิ์ หันทิพย์ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลวังจั่น
ผลจากการจัดโครงการดังกล่าวได้สอดเเทรกสาระด้านจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ดังนี้
1. ความรู้เกี่ยวกับ “การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี การรักษาจริยธรรม การรักษาวินัย ประมวลจริยธรรมผู้บริหารท้องถิ่น ประมวลจริยธรรมสมาชิกสภาท้องถิ่น และประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น”
1.1 การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล จะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีและอยู่ในกรอบตามข้อกำหนดของมาตรฐานทางจริยธรรม ข้อกำหนดตามประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น รวมทั้งรักษาวินัยสำหรับพนักงานส่วนตำบลและวินัยสำหรับพนักงานจ้าง ปฏิบัติตามกรอบค่านิยมหลักและค่านิยมทั่วไปสำหรับพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของความเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดี
1.2 การรักษาจริยธรรม
มาตรฐานทางจริยธรรม คือ หลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะต้องประกอบด้วย (1) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (2) ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตส านึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่ (3) กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม (4) คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ (5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (6) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ (7) ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
การรักษาจริยธรรม ตามข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2566 กำหนดให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ดําเนินการตามกระบวนการ รักษาจริยธรรม ดังต่อไปนี้
(1) กํากับ ดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น
ข้อกําหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น และ
ข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น( ถ้ามี)
(2) กําหนดให้มีการประเมินพฤติกรรมทางจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นและกําหนดหลักเกณฑ์การนําพฤติกรรมทางจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหารงานบุคคล
(3) กําหนดนโยบายด้านจริยธรรมและแผนปฏิบัติการด้านจริยธรรมที่สอดคล้องกับภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงด้านจริยธรรม การทําผิดวินัย และปัญหาการทุจริต
(4) เป็นแบบอย่างที่ดีด้านจริยธรรม ส่งเสริม สนับสนุน และยกย่องพนักงานส่วนท้องถิ่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ มีพฤติกรรมทางจริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ ดี รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณ และอัตรากําลัง เพื่อการขับเคลื่อนงานด้านจริยธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(5) ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความรู้ฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานส่วนท้องถิ่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(6) จัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้อกําหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น (ถ้ามี) รวมทั้งกําหนดกลไกในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบพฤติกรรมของพนักงานส่วนท้องถิ่น ตลอดจนติดตามรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับพฤติกรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ที่อาจขัดกับวินัยและจริยธรรมด้วย เพื่อใช้สําหรับการส่งเสริมจริยธรรมของพนักงานส่วนท้องถิ่น ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(7) สร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชน
(8) รายงานและเปิดเผยข้อมูลการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้อกําหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวล จริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นมาตรการทางจริยธรรม การฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมหรือประมวลจริยธรรม พนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ใดฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม หรือประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ให้ดําเนินการตามมาตรการทางจริยธรรม ดังนี้
(1) ว่ากล่าวตักเตือน
(2) สั่งให้ได้รับการพัฒนา
(3) ทําทัณฑ์บนเป็นหนังสือ
(4) ดําเนินการตามมาตรการทางการบริหาร
การพฤติกรรมตัวที่ไม่เหมาะสมหรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามเมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าพนักงานส่วนท้องถิ่น มีพฤติกรรมทางจริยธรรมที่ไม่เหมาะสมหรือกระทําการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม หรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมพนักงาน ส่วนท้องถิ่น หรือข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องรายงานให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สั่งการ ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยให้พิจารณาภายใน 7 วัน นับตั้งแต่ วันที่ได้รับเรื่องและให้มีข้อสั่งการเพื่อดําเนินการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ รับรายงาน แล้วแต่กรณีด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ
1.3 การรักษาวินัย
พนักงานส่วนส่วนท้องถิ่นต้องรักษาวินัยตามที่กำหนดเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้ตามประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัยและการดำเนินการทางวินัยที่คณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด หากกระทำความผิดจะได้รับโทษทางวินัย 5 สถาน ได้แก่
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ตัดเงินเดือน
(3) ลดขั้นเงินเดือน
(4) ปลดออก
(5) ไล่ออก
และโทษทางวินัยของพนักงานจ้าง 4 สถาน ได้แก่
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ตัดค่าตอบแทน
(3) ลดขั้นเงินค่าตอบแทน
(4) ไล่ออก
1.4 ประมวลจริยธรรมผู้บริหารท้องถิ่น ประมวลจริยธรรมสมาชิกสภาท้องถิ่น และประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ประมวลจริยธรรมผู้บริหารท้องถิ่น นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รองนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเลขานุการนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม ดังนี้
1) ผู้บริหารท้องถิ่นต้องยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2) ผู้บริหารท้องถิ่นพึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีจิตส านึกที่ดี และ รับผิดชอบต่อหน้าที่
3) ผู้บริหารท้องถิ่นพึงกล้าตัดสินใจและกระท าในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม
4) ผู้บริหารท้องถิ่นพึงยึดถือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุก ของประชาชนโดยรวม และมีจิตสาธารณะ
5) ผู้บริหารท้องถิ่นพึงปฏิบัติหน้าที่โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
6) ผู้บริหารท้องถิ่นพึงปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
7) ผู้บริหารท้องถิ่นพึงดารงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
8) ผู้บริหารท้องถิ่นพึงปฏิบัติงานตามหน้าที่และอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น การจัดทำบริการสาธารณะ และการใช้จ่ายงบประมาณ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เหมาะสม สอดคล้องกับบริบท สภาพปัญหาและความเสี่ยงทางจริยธรรม ภูมิสังคม ความเป็นอยู่และวิถีของชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอันดีงาม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ประมวลจริยธรรมสมาชิกสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น จะต้องปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม ดังนี้
1) สมาชิกสภาท้องถิ่น ต้องยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2) สมาชิกสภาท้องถิ่น พึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีจิตส านึกที่ดี และ รับผิดชอบต่อหน้าที่
3) สมาชิกสภาท้องถิ่น พึงกล้าตัดสินใจและกระท าในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม
4) สมาชิกสภาท้องถิ่น พึงยึดถือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม และมีจิตสาธารณะ
5) สมาชิกสภาท้องถิ่น พึงปฏิบัติหน้าที่โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
6) สมาชิกสภาท้องถิ่น พึงปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
7) สมาชิกสภาท้องถิ่น พึงดารงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
8) สมาชิกสภาท้องถิ่นพึงรักษาไว้และปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่นและมติของที่ประชุมโดยเคร่งครัด
9) สมาชิกสภาท้องถิ่นพึงปฏิบัติงานตามหน้าที่และอำนาจสภาท้องถิ่น เพื่อให้การตราข้อบัญญัติท้องถิ่น การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น การจัดทำบริการสาธารณะ และการใช้จ่าย งบประมาณให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เหมาะสม สอดคล้องกับบริบท สภาพปัญหาและความเสี่ยง ทางจริยธรรม ภูมิสังคม ความเป็นอยู่และวิถีของชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอันดีงาม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างประจำและพนักงานจ้าง
จะต้องปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม โดยกำหนดให้มีจริยธรรมหลักและจริยธรรมทั่วไป ดังนี้
จริยธรรมหลัก มี 7 ประการ
(1) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ ประพฤติ ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบศีลธรรมอันดีและเทิดทูนรักษาไว้ซึ่ง สถาบันพระมหากษัตริย์
(2) ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาตามกฎหมาย และตามทำนองคลองธรรม โปร่งใส และมีจิตสำนึกที่ดี
(3) กล้าตัดสินใจ และกระท าในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม และกล้าแสดงความคิดเห็น คัดค้านหรือเสนอให้มีการลงโทษผู้ที่ทำสิ่งไม่ถูกต้อง
(4) คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ
(5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานและภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(6) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรม ปราศจากอคติ และไม่เลือกปฏิบัติ โดยการ ใช้ความรู้สึกหรือความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือเหตุผลของความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา เพศ อายุ สภาพร่างกาย สถานะของบุคคลหรือฐานะทางเศรษฐกิจสังคม
(7) ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ ด้วยการรักษา เกียรติศักดิ์ของความเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น รวมทั้งปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง